MC24เทคโนโคราช http://mc24.siam2web.com/

*ประวัติวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ*
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เดิมชื่อวิทยาลัยเทคนิคภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เป็นสถาบันอาชีวศึกษา และช่างเทคนิคชั้นสูง ประเภทสหศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยมีหลักสูตรสำหรับระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกวิชา คือ วิชาบัญชี และเลขานุการ วิชาช่างก่อสร้าง และวิชาช่างไม้
วิทยาเขตฯ อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 330 ไร่ ทิศเหนือติดถนนสุรนารายณ์ ทิศ
ใต้ติดคลองลำตะคอง ทิศตะวันตกจรดบริเวณสถาบันราชภัฏนครราชสีมาและทิศตะวันออกติดที่ดินของเอกชน บริเวณนี้แต่
เดิมมีต้นตะโกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงมีชื่อสามัญเรียกกันว่า ทุ่งตะโกราย
วิทยาเขตฯ เริ่มดำเนินการเรียนการสอนวันแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยใช้อาคารไม้ของโรงเรียนการช่าง
นครราชสีมา เป็นที่เรียน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2499 มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหลังแรก (ตึกคณะวิชาบริหารธุรกิจ) โดยมี
ฯพณฯ พลเอกมังกร พรมหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธาน
นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2500 เป็นต้นมา วิทยาเขตฯ ได้ขยายตัวทั้งด้านอาคารเรียน สถานที่ เครื่องมือ เจ้าหน้าที่และได้
ขยายการศึกษาโดยเปิดแผนกวิชาเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ
2500 เปิดสอนแผนกวิชาเขียนแบบสถาปัตยกรรม
2501 เปิดแผนกวิชาช่างยนต์ ช่างโลหะ ช่างไฟฟ้า
2502 ขยายแผนกวิชาช่างก่อสร้าง ถึง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
2503 ขยายแผนกวิชาสถาปัตยกรรม ถึง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
2505 เปิดแผนกวิชาออกแบบอุตสาหกรรม (หลักสูตร 5 ปี) และขยายแผนกวิชาบัญชี และเลขานุการถึง ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยเรียกว่า คณะบริหารธุรกิจ เปลี่ยนระบบการเรียนแบบ 3 ภาคเรียนมาเป็น แบบ 2 ภาคเรียน
2506 เปิดแผนกวิชาช่างกลเกษตร เปิดรับนักศึกษาผู้ สำเร็จ มศ.5 เข้าเรียนในแผนกบัญชี แผนก วิชาช่างโยธาและแผนกสถาปัตยกรรม
2507 เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าเรียนในแผนกวิชาช่างกลโลหะ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง เปิดอบรมช่างเพื่อการเร่งรัดพัฒนาชนบท
2508 เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างยนต์ แผนกช่างไฟฟ้าเข้าศึกษาใน แผนกวิชาเครื่องกลหนักในระดับ ประกาศนียบัตรครูช่างเทคนิคชั้นสูง ในโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท เปิดรับนัก ศึกษาผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาช่างไม้เข้าศึกษาในแผนกวิชาออกแบบ อุตสาหกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาเฟอร์นิเจอร์และทำแบบหล่อโลหะ
2509 เปลี่ยนชื่อ แผนกวิขาออกแบบอุตสาหกรรม เป็นแผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และเปิดแผนกวิชาศิลปกรรม
2510 เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จมศ.5 เข้าศึกษาในแผนกวิชาช่างยนต์ แยกนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 ของแผนกวิชาการบัญชี ออกเป็นแผนกพณิชยการ
2512 ขยาย แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังและแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เปิด แผนกใหม่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้แก่ แผนกช่างจักรกลหนัก แผนกเลขานุการ ช่างเขียน แบบโยธา โดยรับจากผู้สำเร็จ มศ.6 และแผนกช่างสำรวจจากผู้สำเร็จชั้น มศ.5 เปิดแผนกฝึกหัดครูมัธยม โดยรับจากผู้สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทุกสาขาเข้าศึกษาเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง
2513 เปิดสอนรอบบ่าย
2515 ได้รับพิจารณาให้เข้าร่วม โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาจาก พ.ศ. 2515 – 2519 เลิกรับผู้สำเร็จจาก ชั้นมศ.5
2518 งดรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาพณิชการ
2519 เปิดแผนกวิชาการเงินการธนาคาร แผนกฝึกหัดครูมัธยม เปลี่ยนระยะเวลาเรียนจาก 1 ปีครึ่งเป็น 1 ปี
2520 เปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีว ศึกษาซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรมเปิดรอบบ่าย แผนกวิศวกรรมสำรวจ และแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์
2522 เปลี่ยนชื่อแผนกจากวิศวกรรมสำรวจเป็นช่างสำรวจ จากเทคนิคช่างโลหะเป็นช่างโลหะ
2523 เปิดแผนกการตลาดทั้งรอบเช้าและรอบบ่าย เปิดรอบเช้าแผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษาในหลักสูตร ประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา ปม.และหลักสูตรประโยคครูมัธยม ปมธ. อย่างละหนึ่งห้องเรียน
2524 ลดรอบบ่ายระดับปวส. แผนกวิชาช่างก่อสร้าง ช่างยนต์แผนกละ 1 ห้องเรียน
2526 เปิดแผนกบัญชี หลักสูตร 5 ปี ภาคปกติ 2 ห้องเรียน เพิ่มแผนกสถาปัตยกรรมในระดับ ปวส.ภาคปกติ 1 ห้องเรียน
2528 เปลี่ยนแผนภูมิการบริหารสถาบันฯ โดยอาศัยแผนภูมิการบริหารของกรมฯ ได้มีการจัดรูปแบบการบริหารใน ระดับคณะวิชาใหม่ ดังนี้ คณะวิชาเทคนิคเครื่องกล ประกอบด้วย แผนกวิชาช่างยนต์ แผนกวิชาช่างจักรกล หนัก และแผนกวิชาช่างกลเกษตรคณะวิชาเทคนิคการผลิต ประกอบด้วย แผนกวิชาช่างโลหะ และแผนก วิชาช่างกลโรงงาน งดรับนักศึกษาแผนกวิชาบัญชีหลักสูตร 5 ปี
2529 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 สาขา คือ สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (โยธา-ก่อสร้าง) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิต (บัญชี)
2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อใหม่ แก่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเปิดสอนระดับปริญญาตรี 1 สาขา คือ วศ.บ.โยธา และระดับระกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง สาขาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ งดรับนักศึกษาระดับปม.และระดับปริญญาตรี คอ.บ. (โยธา- ก่อ สร้าง)
2532 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 สาขา คือ วศ.บ. (เครื่องกล) วศ.บ.(อุตสาหการ) เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ และแผนกวิชาช่างสำรวจหลักสูตร 3 ปี รับ ม.6 (สายวิทย์-คณิต)
2533 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานรองเครื่องทำความเย็นและปรับ อากาศ และแผนกวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์หลักสูตร 4 ปี รับผู้สำเร็จ ม.4 (สายวิทย์ – คณิต)
2534 ได้รับมอบหมายจากสถาบันให้ดำเนินการจัดตั้งและกำกับดูแลศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีชุณหะวัณ ณ นิคม อุตสาหกรรมสุรนารี
เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ภาคสมทบ) สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ หลักสูตร 4 ปี จำนวน 1 ห้องเรียน เปิดสอนระดับปริญญาตรี (ภาคสมทบ)
2535 เปิดสอน (ภาคสมทบ) ในสาขาวิขาต่าง ๆ เพิ่มดังนี้
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม 1 ห้องเรียน
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาการบัญชี 1 ห้องเรียน
3. สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ หลักสูตร 4 ปี เพิ่มอีก 1 ห้องเรียน
4. ระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 1 ห้องเรียน
5. ปรับปรุงผังบริหารงานวิทยาเขตฯ โดยเพิ่มฝ่ายวางแผนและพัฒนา

2536 เปิดสอนสาขาวิชาใหม่ เพิ่มขึ้น คือ
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างโลหะ สาขางานรองหล่อโลหะ
3. ระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี ภาคปกติ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาคสมทบ ภาควิชา วิศวกรรมอุตสาหการ ปรับปรุงผังบริหารงานวิทยาเขตฯ โดยเพิ่มฝ่ายวิจัยและฝึกอบรม
2537 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการภาคสมทบ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 4 ปี
แผนกวิชาช่างยนต์ และแผนกวิชาช่างกลโรงงาน
วิทยาเขตได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับพื้นที่ส่วนหนึ่ง
ของศูนย์ฝึกภาคสนามหนองระเวียง จำนวนเนื้อที่ 1,000 ไร่ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2538 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม เปิดสอนระดับ ปวส. หลักสูตร 4 ปี แผนกวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร โครงการฝึกอบรมวิชาชีพ หลักสูตรระยะสั้นแก่ราษฎรในหมู่บ้าน ชนบททั่วไป
2539 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาสถาปัตยกรรมภายใน แผนกวิชาอุตสาหกรรม เครื่องปั้นดินเผา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแข่งขันกีฬา ราชมงคลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตจัดงานฉลองครบรอบ 40 ปี
2540 ยุบคณะวิชาออกแบบ จัดตั้งคณะวิชาใหม่ คือ
1. คณะวิชาสถาปัตยกรรม
1.1 แผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม
1.2 แผนกวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
2. คณะวิชาออกแบบอุตสาหกรรม
2.1 แผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
2.2 แผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
3. คณะวิชาศิลปกรรม
3.1 แผนกวิชาจิตรกรรม
3.2 แผนกวิชาภาพพิมพ์
3.3 แผนกวิชาประติมากรรม

เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
1. คณะวิชาช่างโยธา แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
2. คณะวิชาเทคนิคเครื่องกล แผนกวิชาช่างยนต์
3. คณะวิชาช่างไฟฟ้า แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
4. คณะวิชาเทคนิคการผลิต แผนกวิชาช่างกลโรงงาน งดรับนักศึกษา ม.4 (หลักสูตร ปวส. 4 ปี) และ นักศึกษาระดับปวช.แผนกวิชาช่างกลเกษตร, ช่างยนต์, ช่างสำรวจ, ช่างก่อสร้างและช่างอิเล็กทรอนิกส์ จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ ซึ่งประกอบด้วยแผนกห้องสมุดแผนกเทคโนโลยีการศึกษา, แผนการเรียน ด้วยตนเอง แผนกการศึกษาทางไกลและแผนกสารสนเทศ
วิทยาเขตได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 15 โดยมีคำขวัญว่า “ธรรมชาติกีฬาสร้าง คุณค่าให้ชีวิต” มีสัตว์นำโชคเป็นนกเงือก และวิทยาเขตชนะเลิศได้รับถ้วยคะแนนรวม
2541 เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลักสูตร 3 ปี รับจากวุฒิ ม.6 จำนวน 8 แผนกวิชา ดังนี้ แผนก วิชาบัญชี แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชาช่างโยธา แผนกวิชาช่างสำรวจ แผนก วิชาช่างกลโรงงาน แผนกวิชาช่างยนต์และแผนกวิชาช่างสถาปัตยกรรม
2542 ปรับเปลี่ยนผังการบริหารงาน เป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริการศึกษา ฝ่ายวางแผนและ พัฒนา ฝ่ายกิจการนักศึกษา ฝ่ายวิจัยและฝึกอบรม ฝ่ายกิจการพิเศษ ศูนย์พัฒนาบุคลากรและ ศูนย์ฝึกอบรม เทคโนโลยีชุณหะวัณ
2543 เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาการตลาด ภาคสมทบ ปรับเปลี่ยนผังการบริหาร โดยตัดศูนย์พัฒนาบุคลากร ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีชุณหะวัณออก ฝ่ายกิจการนักศึกษา เพิ่มแผนกเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา วิทยาเขตได้รับมอบหมายจากสถาบันฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารการจัดตั้งวิทยาเขตปราจีนบุรี วิทยาเขตเป็นเจ้าภาพจัดงานราชมงคลร่วมใจสืบสานวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2543
2544 เปิดสอนระดับปริญญาตรี เรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ 3 สาขา สาขาการบัญชี สาขาการจัดการทั่วไป และสาขา การจัดการอุตสาหกรรม วิทยาเขตฯ จัดงานสถาปนาครบรอบ 45 ปี และเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬา “ราชมงคลอีสาน เกมส์” ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2544
2545 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการตลาด รับวุฒิ ปวช. บริหารธุรกิจ และม.6 หลักสูตร 2 ปีครึ่ง วิชาเอกระบบสารสนเทศและวิชาเอกการเงิน รับวุฒิ ปวส. และหลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการจัดการ สาขาการจัดการ ทั่วไป และสาขาการจัดการทั่วไป และสาขาการจัดการอุตสาหกรรม รับวุฒิ ปวช. ทุกสาขาวิชา และ ม.6
2546 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยรับนักศึกษาจบจากหลักสูตร ปวช. จำนวน 4 วิชาเอก คือ วิชาเอกวิศวกรรมโยธา, วิชาเอกวิศวกรรมไฟฟ้า-ไฟฟ้ากำลัง, วิชาเอก วิศวกรรมเครื่องกล และวิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการ เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี วิชา เอกวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รับผู้จบวุฒิ ปวส. เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (ทล.บ.) รับผู้จบวุฒิ ม.6 และ ปวช

กรุณาใส่ข้อมูลของท่านตรงนี้ค่ะ!

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 8,648 Today: 3 PageView/Month: 10

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...